โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด
เผยแพร่ : 03 เมษายน 2567
ในช่วงฤดูร้อน
ประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
จนติด 1 ใน 15 ของเมืองที่ร้อนที่สุดในโลก
อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด โรคที่มีอันตรายถึงชีวิต และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ
จากภาวะอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heatstroke) เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปซึ่งมักเกิดจากการทำงาน
ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียส
หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง
อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ เช่นสมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที
จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ บางรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก
ที่ควรระวัง
- ตัวร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
- ผิวหนังแห้งและร้อน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ
แต่ไม่มีเหงื่อออก
- ความดันโลหิตลดลง
- หัวใจเต้นเร็วมาก ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
- กระหายน้ำมาก
- วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด
- คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
- อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป
ใครที่มีความเสี่ยงโรคลมแดด
( Heatstroke )
1.
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
2.
ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง
หรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
3.
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
4.
ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
5.
ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน
เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬากอล์ฟ เกษตรกร ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
6.
ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ
ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
7.
ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม และในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
8.
แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น
ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันตัวเองจากโรคลมแดด
หรือฮีทสโตรก
1.
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
2.
สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน
โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้
3.
จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม
เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
4.
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
5.
เด็ก ผู้สูงอายุ
และผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อนและไม่ควรอยู่ตามลำพัง
6.
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย
แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น
เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง
7.
ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ
หรืออาการที่บ่งบอกตามข้างต้น ขอให้รีบพบแพทย์โดยทันที
สนใจทำประกัน โทร. 02-275-9119